|
ประวัติความเป็นมา :- พระราชวังสนามจันทร์ ตั้งอยู่ที่จังหวัดนครปฐม ห่างจากกรุงเทพฯ ลงไปทางใต้ 56 กิโลเมตร บริเวณที่เป็นพระราชวังสนามจันทร์ อยู่ห่างจากองค์พระปฐมเจดีย์ ไปทางตะวันตก ประมาณ 1 กิโลเมตร ตั้งอยู่ในอาณาบริเวณซึ่งเดิมเรียกว่า " เนินปราสาท " สันนิษฐานว่า เดิมคงเคยเป็นพระราชวังของกษัตริย์ในสมัยโบราณ ใกล้กับเนินปราสาทมีสระน้ำใหญ่แห่งหนึ่ง ซึ่งมีชื่อเรียกขานกันมาแต่เดิมว่า " สระน้ำจันทร์ " ( ปัจจุบันชาวบ้าน เรียกว่า สระบัว ) อยู่หน้าโบสถ์พราหมณ์ ครั้นต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ครั้งยังดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสสาธิราชฯ มีพระราชประสงค์ที่จะสร้างพระราชวังที่ประทับขึ้น ณ เมืองนครปฐม สำหรับเป็นที่ประทับแปรพระราชฐานในโอกาสเสด็จฯ มาสักการะองค์พระปฐมเจดีย์ และเพื่อประทับพักผ่อนพระราชอิริยาบถ ทรงเลือกจังหวัดนครปฐม ด้วยเหตุที่ทรงคุ้นเคยกับภูมิประเทศของเมืองนี้ ทรงเห็นว่าบริเวณเนินปราสาทนั้นเป็นทำเลที่เหมาะ จึงทรงขอซื้อที่ดินจากราษฎรที่อยู่รอบๆ เนินปราสาท เพื่อจัดสร้างพระราชวังขึ้น รวมเนื้อที่ทั้งสิ้น 888 ไร่ 3 งาน 24 ตารางวา แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หลวงพิทักษ์มานพ ซึ่งต่อมาได้เลื่อนยศเป็น พระยาวิศุกรรมศิลป์ประสิทธิ์ ( น้อย ศิลปี ) เป็นผู้ออกแบบและดำเนินการก่อสร้างพระราชวังแห่งนี้ขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช 2450 ซึ่งตรงกับปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 การก่อสร้างพระที่นั่ง และพระตำหนักต่างๆ ได้ดำเนินการติดต่อกันนานถึง 4 ปี จึงแล้วเสร็จในปีพุทธศักราช 2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 พระราชทานนามว่า " พระราชวังสนามจันทร์ " สถานที่น่าสนใจในพระราชวังสนามจันทร์ :- พระที่นั่งองค์นี้ใช้เป็นที่ประทับ ( โดยเฉพาะก่อนเสด็จฯ ขึ้นเถลิงถวัลย์ราชย์สมบัติ จนถึงปีพุทธศักราช 2458 ) ที่ทรงพระอักษร ที่เสด็จออกขุนนาง ที่รับรองพระราชอาคันตุกะ และออกให้ราษฎรเข้าเฝ้าฯ มากกว่าพระที่นั่ง และพระตำหนักองค์อื่นๆ พระที่นั่งองค์นี้ทรงใช้เป็นที่ออกงานสโมสรสันนิบาต เสด็จฯ ออกขุนนางเพื่อปรึกษาหารือข้อราชการ เป็นที่อบรมกองเสือป่า และใช้เป็นที่แสดงโขนละครต่างๆ พระที่นั่งสามัคคีมุขมาตย์เป็นพระที่นั่งที่กว้างขวางจุคนได้มากจึงมีชื่อเรียกติดปากชาวบ้านว่า " โรงโขน " เดิมเคยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระมหาเศวตฉัตรมาประดิษฐานไว้ภายใน พระตำหนักมารีราชรัตบัลลังก์ เป็นพระตำหนัก 2 ชั้น สร้างด้วยไม้สักทอง ทาสีแดง มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมแบบนีโอคลาสสิก ของประเทศทางตะวันตก แต่ได้มีการปรับปรุงองค์ประกอบบางส่วนให้เหมาะกับภูมิอากาศแบบเมืองร้อน พระตำหนักองค์นี้สร้างขึ้นคู่กับพระตำหนักชาลีมงคลอาสน์ โดยมีฉนวนทางเดินทำเป็นสะพานจากชั้นบนด้านหลังของพระตำหนักชาลีมงคลอาสน์ ข้ามคูน้ำเชื่อมกับชั้นบนด้านหน้าของพระตำหนักมารีราชรัตบัลลังก์ สะพานดังกล่าวหลังคามุงกระเบื้อง และติดหน้าต่างกระจกทั้งสองด้านตลอดความยาวของสะพานที่เชื่อมติดต่อถึงกัน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระตำหนักนี้ ในราวปีพุทธศักราช 2459 โดยมีหม่อมเจ้าอิทธิเทพสรร กฤดากร เป็นสถาปนิกออกแบบ อนุสาวรีย์ย่าเหล
|